ครั้งที่ 15
นำเสนอบทความ
นางสาวรัชดา เทพเรียน
เรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่
สรุป การเรียนวิทยาศาตร์ของเด็กปฐมวัน ไม่ได้มุ่งเน้นที่เนื้อหาแต่มุ่งเน้นกระบวนการเกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากตัวเด็ก จากการสังเกตความอยากรู้อยากเห็นและการแก้ปัญหาในสถานการณ์นั้นๆ
นางสาวเปมิกา ชุติมาสวรรค์
เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดย ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
สรุป วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเราความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้โภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่น เรารู้สึกว่าไม่มีความสุขอากาศร้อนมาก วิทยาศาสตร์มีพัดลม หรือแอร์ เราได้รับความบันเทิง เช่น ทีวี วิทยุ เป็นต้น เด็กเล็กเล็กมีธรรมชาติเป็นผู้อยากรู้อยากเห็นชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไร สามารถความรู้จากตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ ดังนั้นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และพัฒนาการทางด้านอารมณ์เช่น เด็กมีความกิจกรรมวิทยาศาสตร์และการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัว ในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ
นางสาวชนาภา คะปัญญา
เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
สรุป การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนใจของเด็ก และส่งเสริมการเรียนโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์. โดยมีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการคือ ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ พัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก และความสามารถนำไปปฏิบัติได้ นำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และกระบวนการแก้ปัญหา ด้วยวิธีการที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และควรให้เด็กตระหนักถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้
นำเสนอผลงานวิจัย
นางสาวประภัสสร คำบอนพิทักษ์
เรื่อง การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
สรุป การวิจัยเพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ และเพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ผ่านแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ จำนวน 24 เรื่องเช่น รถ ผักผลไม้ อาหาร เวลา เป็นต้น และแบบการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการจัดประสบการณ์กิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้น
นางสาวจงรักษ์ หลาวเหล็ก
เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กประถมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
สรุป การวิจัยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนผ่านแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน และแบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย คือ การจัดหมวดหมู่และการหาความสัมพันธ์ ผลการวิจัยการทำกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนส่งผลให้เด็กมีความกระตือรือร้น เรียนรู้ สำรวจค้นหาข้อมูลนอกห้องเรียนด้วยตนเอง เด็กความอยากรู้อยากเห็นได้พบสิ่งแปลกใหม่และเรื่องราวที่น่าค้นคว้าจึงทำให้เด็กตื่นเต้น และอยากทำกิจกรรมซึ่งตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
นำเสนอโทรทัศน์ครู
นางสาวกรกช เดชประเสริฐ
เรื่อง พัฒนาการสังเกตุเป็นพื้นฐานสำคัญทางวิทยาศาสตร์
สรุป 1. เรื่องไข่ ครูให้เด็กสังเกตไข่ที่ครูเตรียมมา 2 ใบ และตั้งคำถามว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับไข่ 2 ใบนั้น ถ้าครูโยนไข่ทั้งสองใบพร้อมๆกัน. จากนั้นครูทำการโยนไข่และให้เด็กสังเกตผล. ปรากฏว่าใครใบนึงแตกแต่อีกใบนึงไม่แตกเด็กจึงทราบว่าใครที่ไม่แตกคือไข่ต้ม
2. น้ำมัน ครูให้เด็ก ๆ สังเกตน้ำมัน 2 ชนิด สังเกตสี และกลิ่นจากนั้นครูให้เด็ก ๆ นำน้ำมันพืชทาลงบนกระดาษ 1 แผ่น แล้วสังเกต ต่อไปนำน้ำมันหมูทาลงบนกระดาษแล้วสังเกต จากนั้นนำ 2 แผ่นมาเปรียบเทียบกัน ว่ามีอะไรเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร