วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ศึกษานอกสถานที่  EDUCA

สถานที่ อาคารชาเลนเจอร์ 2 ชั้น 2 อิมเพค เมืองทองธานี
ระหว่างวันที่ 14-16 ตุลาคม 2558


สร้างคน  สร้างชุมชน สร้างชาติ 



ความรู้ที่ได้รับ

  ค่านิยม 12 ประการ
1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม 
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ 
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม 
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม 
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน 
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง 
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ 
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี 
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออ านาจฝ่ายต่ า หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา 
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง






งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ปี 2558

ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2 อิมเพค เมืองทองธานี




ระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



วันดินโลก ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี



แสง คือ คลื่นชนิดหนึ่งและมีพลังงานการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น หรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟราเรดถึงรังสีอัลตราไวโอเลตด้วย




โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลก 





การสตัฟฟ์สัตว์  TEXIDERMY คืนชีวิตให้ซากสัตว์




ช้างไดโนธีเรียม Deinotherium









บันทึกอนุทิน 24 พฤศจิกายน 2558

ครั้งที่ 15


นำเสนอบทความ

นางสาวรัชดา เทพเรียน
เรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่
สรุป  การเรียนวิทยาศาตร์ของเด็กปฐมวัน ไม่ได้มุ่งเน้นที่เนื้อหาแต่มุ่งเน้นกระบวนการเกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากตัวเด็ก จากการสังเกตความอยากรู้อยากเห็นและการแก้ปัญหาในสถานการณ์นั้นๆ 


นางสาวเปมิกา ชุติมาสวรรค์
เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดย  ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
สรุป  วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเราความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้โภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่น เรารู้สึกว่าไม่มีความสุขอากาศร้อนมาก วิทยาศาสตร์มีพัดลม หรือแอร์ เราได้รับความบันเทิง เช่น ทีวี วิทยุ เป็นต้น เด็กเล็กเล็กมีธรรมชาติเป็นผู้อยากรู้อยากเห็นชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไร สามารถความรู้จากตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ ดังนั้นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และพัฒนาการทางด้านอารมณ์เช่น เด็กมีความกิจกรรมวิทยาศาสตร์และการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัว ในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ


นางสาวชนาภา  คะปัญญา
เรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
สรุป  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนใจของเด็ก และส่งเสริมการเรียนโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์. โดยมีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการคือ ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ พัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก และความสามารถนำไปปฏิบัติได้ นำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และกระบวนการแก้ปัญหา ด้วยวิธีการที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และควรให้เด็กตระหนักถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้


นำเสนอผลงานวิจัย

นางสาวประภัสสร  คำบอนพิทักษ์
เรื่อง  การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
สรุป การวิจัยเพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ และเพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ผ่านแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ จำนวน 24 เรื่องเช่น รถ ผักผลไม้ อาหาร เวลา เป็นต้น และแบบการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการจัดประสบการณ์กิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้น


นางสาวจงรักษ์  หลาวเหล็ก
เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กประถมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
สรุป  การวิจัยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนผ่านแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน และแบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย คือ การจัดหมวดหมู่และการหาความสัมพันธ์ ผลการวิจัยการทำกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนส่งผลให้เด็กมีความกระตือรือร้น เรียนรู้ สำรวจค้นหาข้อมูลนอกห้องเรียนด้วยตนเอง เด็กความอยากรู้อยากเห็นได้พบสิ่งแปลกใหม่และเรื่องราวที่น่าค้นคว้าจึงทำให้เด็กตื่นเต้น และอยากทำกิจกรรมซึ่งตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กปฐมวัย


นำเสนอโทรทัศน์ครู

นางสาวกรกช เดชประเสริฐ
เรื่อง  พัฒนาการสังเกตุเป็นพื้นฐานสำคัญทางวิทยาศาสตร์
สรุป 1. เรื่องไข่ ครูให้เด็กสังเกตไข่ที่ครูเตรียมมา 2 ใบ และตั้งคำถามว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับไข่ 2 ใบนั้น ถ้าครูโยนไข่ทั้งสองใบพร้อมๆกัน. จากนั้นครูทำการโยนไข่และให้เด็กสังเกตผล. ปรากฏว่าใครใบนึงแตกแต่อีกใบนึงไม่แตกเด็กจึงทราบว่าใครที่ไม่แตกคือไข่ต้ม
2. น้ำมัน ครูให้เด็ก ๆ สังเกตน้ำมัน 2 ชนิด สังเกตสี และกลิ่นจากนั้นครูให้เด็ก ๆ นำน้ำมันพืชทาลงบนกระดาษ 1 แผ่น แล้วสังเกต ต่อไปนำน้ำมันหมูทาลงบนกระดาษแล้วสังเกต จากนั้นนำ 2 แผ่นมาเปรียบเทียบกัน ว่ามีอะไรเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

บันทึกอนุทิน 17 พฤศจิกายน 2558

ครั้งที่ 14

กิจกรรม cooking

ข้าวจี่ (Kgawhie)

    อุปกรณ์
- ข้าวเหนียว
- ตะเกียบ
- ไข่ไก่
- ซอสปรุงรส & เกลือ
- เตาปิ้ง

วิธีทำ
- ปั้นข้าวเหนียว
- นำไปปิ้งให้ข้าวแห้ง
- นำมาชุปไข่ไก่
- นำไปปิ้งอีกครั้ง ให้ไข่สุก หรือจนกว่าไข่จะเปลี่ยนสี



ขนมโค

อุปกรณ์
- แป้งข้าวเหนียว
- น้ำสะอาด
- ไส้ต่างๆ
- มะพร้าวขูดฝอย
- สีผสมอาหาร
- หม้อต้ม

วิธีทำ
- ผสมแป้ง สีผสมอาหาร น้ำสะอาด นวดจนเข้ากัน
- ปั้นเป็นก้อนและใส่ไส้ตรงกลาง
- นำไปคลุกกับมะพร้าวขุดฝอย
- นำไปต้ม 3-4 นาที หรือจนกว่าแป้งจะเปลี่ยนสีหรือลอยขึ้น



หวานเย็น

    อุปกรณ์ 

- น้ำเฮลบลูบอย & น้ำเปล่า
- น้ำแข็งบด
- เกลือแกง
- หม้อหรือกะละมัง







วิธีทำ
- ผสมน้ำเปล่าและเฮลบลูบอยตามใจชอบ
- นำน้ำหวานที่ผสมแล้วเทลงในหม้อสแตนเลส
- คนจนกว่าน้ำจะเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง

   >>>  


skill

การลงมือทำด้วยตัวเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการสัมผัส รู้จักคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาต่างๆ และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

บันทึกอนุทิน 10 พฤศจิกายน 2558

ครั้งที่ 13


ทำกิจกรรม cooking

waffle (วาฟเฟิล) 

   >>>      >>>      >>>


 >>>  >>> 

อุปกรณ์
- ตะกล้อตีแป้ง
- แป้งวาฟเฟิล
- นมสด
- ไข่ไก่ 1 ฟอง
- เครื่องทำวาฟเฟิล
- ซอสช็อกโกแลต & สตรอเบอรี่
วิธีทำวาฟเฟิล
- ผสมแป้งกับน้ำ+นม+ไข่ไก่ คนให้เข้ากัน
- เทแป้งที่ตีเข้ากันแล้วลงใน เครื่องทำวาฟเฟิล
- รอจนแป้งเปลี่ยนสี แล้วนำออกมาจัดจานได้เลย


ข้าวทาโกยากิ  (Takoyaki)
วิธีทำ
- ผสมข้าว ไข่ ผัก เข้าด้วยกัน
- ปรุงรสด้วยซอสปรุงรส
- ทาเนยลงบนเตาทำทาโกยากิ
- ใส่ข้าวลงในเตา รอจนข้าวเปลี่ยนสี แล้วนำออกมาจัดใส่จานได้เลย



skill 

การลงมือทำด้วยตัวเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการสัมผัส รู้จักคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาต่างๆ และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น




บันทึกอนุทิน 3 พฤศจิกายน 2558

ครั้งที่ 12


knowledge

เขียนแผนการเรียนรู้
 - กำหนดจุดประสงค์
 - เขียนกิจกรรม
    ขั้นนำ>>> ขั้นสอน >>> ขั้นสรุป
 - การประเมิน



รูปแบบการสอนแบบ 5W 1H

what >> ทำอะไร
where >> ที่ไหน
when >> เมื่อไหร่
why >> ทำไม
who >> ใคร
how >> อย่างไร

ส่งแผน
1 หน่วยยานพาหนะ
2 หน่วยร่างกายของฉัน
3 หน่วยชุมชนของฉัน
4 หน่วยต้นไม้แสนรัก
5 หน่วยน้ำ

วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน 27 ตุลาคม 2558

ครั้งที่ 11


knowledge


>>>  ดอกไม้บานในน้ำ

         - แบ่งกลุ่มๆละ 5 คน โดยที่มี 1คนคอยจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ
        - ตัดกระดาษให้เป็นรูปดอกไม้ตามจินตนาการ
        - นำดอกไม้กระดาษที่พับเป็นสี่เหลี่ยมลงในน้ำพร้อมกัน
        - สังเกตการเปลี่ยนแปลงของดอกไม้กระดาษว่าดอกไหนจะบานก่อนกัน
         สรุป ดอกไม้ที่มีขนาดเล็กจะบานก่อน และดอกไม้ที่มีขนาดใหญ่จะบานทีหลัง







>>> แรงดันน้ำ

   

      - ขวดที่เจาะรู 3 ระดับ
      - ปิดรูด้วยเทปกาว แล้วเทน้ำใส่จนเต็มขวด
      - แกะเทปกาวอกทีละรู และสังเกตน้ำที่พุ่งออกมาแต่ละรู
       สรุป รูล่างสุดที่มีแรงดันน้ำมากที่สุด จะพุ่งไปไกลที่สุด รูข้างบนสุดที่มีแรงดันน้อยที่สุด น้ำจะพุ่งเบาและใกล้ที่สุด





>>> น้ำพุ

- เทน้ำลงในขวดขนาดต้องใส่ยังเลยระดับเดียวกัน
- สังเกตการไหลของน้ำ - ทดลองปิดฝาขวดและสังเกตการไหลของน้ำ - นำปลายของสายยางลงมาให้ต่ำกว่าระดับขวด - และสังเกตการณ์ในของน้ำ สรุป เมื่อเทน้ำลงในขวดขนาดตั้งสายางในระดับเดียวกันพบว่ามีน้ำพุไหลมา ทดลองปิดฝาขวดผมว่าน้ำจะไม่ไหลและเมื่อทดลองนำไปสายยางอีกด้านหนึ่ง ลงมาให้ต่ำกว่าระดับขวด น้ำพุจะสูงขึ้น


>>> คอปเตอร์กระดาษ

- ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจากนั้นตัดตรงกลางเป็นแนวตั้งความยาวครึ่งหนึ่งของกระดาษ
พับฝั่งที่ไม่ถูกตัดขึ้น และใช้คลิปหนีบกระดาษมาหนีบไว้ - ทดลองโยนกระดาษ - สังเกตการหมุนของกระดาษและระยะเวลาการลอยตัวบนอากาศ


>>> ไหมพรมเต้นระบำ


- นำหลอดดูดน้ำมาตัดครึ่งหนึ่ง - จากนั้นนำไหมพรหมมาสอดใส่และมัดปม - ทดลองเป่าหลอดไหมพรหม - สังเกตการเคลื่อนไหวของไหมพรหม









>>> เทียนไข

- จุดเทียน
- นำแก้วไปครอบ
- สังเกตการเปลี่ยนแปลง
สรุป เมื่อเรานำแก้วไปครอบ เทียนจะดับ เพราะว่าในแก้ว ไม่มีออกซิเจนซึ่งทำให้เผาไหม้ได้


skill
การสังเกต การคิดวิเคราะห์จาการทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์ต่างๆในชั้นเรียน

บันทึกอนุทิน 20 ตุลาคม 2558

ครั้งที่ 10


knowledge

นำเสนอผลงานวิจัย

นางสาวปรางชมพู บุญชม
เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุด 
แบบฝึกทักษะ
โดย เอราวรรณ ศรีจักร
สรุป การวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะก่อนและ หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะและเพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะผ่านชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระตามชุดแบบฝึกทักษะและแบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า เด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จาก การสังเกตผ่านกิจกรรม และสื่อที่หลากหลายและเด็กจะได้นำทักษะการสังเกตุ การจำแนก การสื่อสาร และการลงความเห็นมาใช้อย่างต่อเนื่องจากการทำชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐานส่งผลให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างสมบูรณ์


นางสาวชนากานต์ แสนสุข
เรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนของครูปฐมวัยโดยใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
โดย ชุลีพร สงวนศรี
สรุป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามความคิดเห็นครูปฐมวัยและแบบทดสอบความรู้พื้นฐานการสอน ความคิดของครูปฐมวัย จากการวิจัยส่งผลให้เกิดกระบวนการสังคมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบร่วมมือระหว่างนักวิจัยและชุมชนส่งผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักเรื่องการพัฒนาเด็กให้คิดวิเคราะห์แก้ปัญหาผ่านการเล่นในชีวิตประจำวันโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5