วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน 25 สิงหาคม 2558

ครั้งที่ 3

เนื้อหาที่เรียน

อาจย์ให้ไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ที่ห้องหมุดมหาวิทยาลัย และนำความรู้ที่ได้มาสรุป ดังนี้

          เรื่องกลไกอย่างง่าย
       กลไลอย่างง่าย คือการให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ถึงวิธีการใช้กลไกอย่างง่ายๆ ที่ช่วยเคลื่อนย้ายและยกข้าวของ ความรู้เหล่านี้จะทำให้นักเรียนสนใจเครื่องกลไกที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งอาจไม่เคยอยู่ในความสนใจของเด็กมาก่อน
 
 
กิจกรรมการเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์
 
 
           ตุ๊กตาเครื่องกล เด็กๆ มักชอบทำท่าเหมือนตุ๊กตาไขลาน ที่เคลื่อนไหวแบบกระตุ๊กๆ แข็งๆ ดังนั้นครูจะเริ่มกิจกรรม โดยคุณครูจะให้เด็กๆ  สมมติตัวเองเป็นตุ๊กตาไขลาน   จากนั้นคุณครูจะไขลานตุ๊กตา ทีละคนๆ  แล้วให้นักเรียนคนอื่นๆ ที่เหลือเดาว่าเป็นตุ๊กตาอะไร แล้วต่อมาจะไขลานตุ๊กตาทั้งหมดพร้อมกับให้ตุ๊กตาไขลานทั้งหมดนั้นเคลื่อนไหวประกอบจังหวะเพลง 

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทความเกี่ยวกับ Science For Early Childhood

การสอนลูกเรื่องอากาศ


สรุปบทความ

 สอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about weather)

ผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

จัดกิจกรรมให้เด็ปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและจำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง อากาศมีอยู่ในบ้านและบริเวณ มีอยู่ในโรงเรียน บริเวณรอบโรง เรียน กลางป่า เขา ชายทะเล แม่น้ำ น้ำตก สวน และอื่นๆ เด็กมักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เรารู้ได้อย่างไร เมื่อเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด เมื่อเด็กสัมผัสอากาศตลอดเวลา ผ่านผิวหนังที่ทำให้เขาเกิดความรู้สึก ร้อน หนาว อุ่น สบาย และจะหลับสนิทเมื่ออยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิพอเหมาะกับความต้องการของร่างกายของเขา อากาศมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ลมที่พัดปกติ พัดผ่านใบไม้ๆจะไหวไปมา ต้นไม้ใบหญ้าจะลู่ตามแรงลม เศษกระดาษปลิวไปอีกที่หนึ่งได้ ฝุ่นที่ฟุ้งกระจาย หรือลมที่พัดแรงมากจนเกิดเป็นพายุหมุน ทำให้เกิดความเสียหายแก่บ้าน เรือน ต้นไม้หักโค่น ฯลฯ เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้ในโลกนี้ เพราะอากาศมีอิทธิพลส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม





สรุปผลงานวิจัย

เรื่อง สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส
โดย คุณครูเด่นดวง ธรรมทวี รร.บ้านสำโรงเกียรติ

เด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นของการเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ ครูจึงมีหน้าที่ป้อนความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กพร้อมที่จะเรียนในชั้นที่สูงขึ้น อย่างเรื่องของประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ครูเด่นดวง ธรรมทวี รร.บ้านสำโรงเกียรติ จ. ศรีสะเกษ ก็ได้นำสิ่งของใกล้ตัวของเด็กมาสอนเด็ก เช่น ได้รู้ว่าการที่เรามองเห็นสิ่งของต่าง ๆ และอธิบายได้ว่าของสิ่งนั้นมีลักษณะอย่างไร นั่นคือเราใช้ ตา ในการมองเห็น ซึ่งตาคือประสาทสัมผัสอย่างหนึ่งนั่นเอง หรือการนำเอากลิ่นที่เด็กคุ้นเคยมาให้ทดลองดม เมื่อเด็กดมก็จะต้องบอกได้ว่ากลิ่นที่ดมไปคือ กลิ่นอะไร เป็นการสอนให้เด็กปฐมวัยได้มีความรู้เรื่องประสาทสัมผัสผ่านของจริงใกล้ตัว ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนชั้นสูงต่อไป

บันทึกอนุทิน 20 สิงหาคม 2558

ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน 13 สิงหาคม 2558

ครั้งที่ 1